วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นิยาม คุณธรรม จริยธรรม


นิยาม ความหมาย “คุณธรรม จริยธรรม



คุณธรรม หมายถึง คุณสมบัติฝ่ายดีโดยส่วนเดียว เป็นที่ตั้งหรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพหรือสันติสุขจึงเป็นที่ต้องการของมนุษย์
คุณธรรมเป็นสิ่งที่ต้องอบรมโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้นเหมาะสมกับที่เราต้องการ - ท่านพุทธทาสภิกขุ
คุณธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อกูล - พระราชวรมุนี
คุณธรรม เป็นเรื่องของความจริงแท้หรือสัจธรรม คุณธรรมทำให้เกิดการประพฤติ
ปฏิบัติที่ดี ทำให้เกิดการรักษาศีล คุณธรรมเป็นตัวหลักและกระจายออกเป็นจริยธรรมและจรรยาบรรณ - พระเมธีธรรมาภรณ์
คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานคุณธรรม หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงาม เป็นมโนธรรม เป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียดความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดี และเป็นเครื่องกระตุ้นผลักดันให้เกิดความรู้สึกผิดชอบ เกิดจิตสำนึกที่ดีมีความสงบเย็นภายใน – ประมวลจากการประชุมระดมความคิด
 
 
 

“จริยธรรม”จริยธรรม หมายถึง ระเบียบปฏิบัติที่มุ่งปฏิบัติเพื่อให้เกิดความผาสุกในสังคม เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น แต่งขึ้นตามเหตุผลของมนุษย์เอง หรือตามความต้องการของมนุษย์ - พุทธทาสภิกขุ
จริยธรรม หมายถึงการนำความรู้ในความจริงหรือกฎธรรมชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดีงาม อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม - พระราชวรมุนี
จริยธรรม หมายถึง การดำเนินการให้สอดคล้องกับสัจธรรม จริยธรรมจึงเป็นหลักแห่งความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์ตนและสังคม - พระเมธีธรรมาภรณ์
จริยธรรม หมายถึง แนวทางในการประพฤติเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นในสังคม- สาโรช บัวศรี
จริยธรรม หมายถึง ประมวลกฏเกณฑ์ความประพฤติ หรือมาตรการของความประพฤติซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีความสำนึกและการตัดสินใจ - กีรติ บุญเจือ
จริยธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
จริยธรรม หมายถึง สิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติ มีพฤติกรรมที่ดีงามต้องประสงค์ของสังคมเป็นหลักหรือกรอบที่ทุกคนกำหนดไว้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม เกิดความสงบร่มเย็นเป็นสุข เกิดความรักสามัคคี เกิดความอบอุ่นมั่นคงและปลอดภัยในการดำรงชีวิต เช่น ศีลธรรม กฎหมาย ธรรมเนียม ประเพณี เป็นต้น
-ประมวลจากการประชุมระดมความคิด

คุณธรรม จริยธรรมสำหรับข้าราชการ

บทความ เรื่อง คุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชการ



หลังจากที่ผมได้ตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากมาย สิ่งที่ไม่เคยรู้ เช่น หลักในการบริหารจัดการสถานศึกษา คุณธรรม จริยธรรม ในการบริหาร ภาวะผู้นำ ฯลฯ เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ในทางการบริหาร มีอะไรอีกมากมายที่ได้เรียนรู้ ดังนั้น ข้าราชการยุคใหม่อย่าคิดแบบน้ำเต็มแก้วตลอดเวลา ต้องคิดแบบน้ำล้นแก้วและน้ำพร่องแก้ว มีอยู่ 2 ทางถ้าเราไม่เจ๋งพอ เราก็คิดแบบน้ำพร่องแก้ว เพราะเราจะได้ความรู้มาเติมเต็ม และถ้าหากต้องการไปมากกว่าเดิม ก็คิดแบบน้ำล้นแก้ว ถ้าเป็นน้ำเต็มแก้ว มันก็ไม่รู้จะไปไหนต่อแล้ว อย่าไปคิดว่าเมื่อเรามีความรู้เยอะๆ แล้วมีคนมาสอบถามเยอะๆ ไม่ต้องไปกลัวว่า เขาจะมาแย่งอาชีพเรา หรือมาแย่งความรู้ของเรา ถ้าเขา Born to be ถึงเราไม่ต้องบอกเขา เขาก็ต้องเกิดมาในแวดวงตรงนี้อยู่แล้ว มาแชร์ความรู้สึกที่ดีต่อกันไม่ดีกว่าหรือ สิ่งสำคัญการที่สุดการเป็นข้าราชการต้องมี คุณธรรม และจริยธรรม ตลอดเวลา




คุณธรรม จริยธรรม สำหรับข้าราชการ คือ การใช้หลักธรรมปฏิบัติในการบริหารงานทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับปฏิบัติการ และผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง หรือระดับสูง ให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพสูง โดยการปกครองและบริหารที่ดี (Good Governance)
การปกครองและบริหารที่ดี ตามหลักธรรมปฏิบัตินั้น ผู้บริหารงานต้องมี “ประมุขศิลป์” คือ คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ดี (Good Leadership) อันเป็นคุณสมบัติที่ดี ที่สำคัญ ของหัวหน้าฝ่ายบริหาร ลงมาถึงหัวหน้างานทุกระดับให้สามารถปกครอง และบริหารองค์กรที่ตนรับผิดชอบ ให้ดำเนินไปถึงความ สำเร็จอย่างได้ผลดี มีประสิทธิภาพสูง และให้ถึงความเจริญ รุ่งเรือง และสันติสุข อย่างมั่นคง

คุณธรรม

คุณธรรม (อังกฤษ: Virtue) เป็น มุมมองแง่หนึ่งของ จริยธรรม ซึ่งคำนึงถึง สิ่งที่ถูกและผิด โดยมีหลักใหญ่สามประการ ได้แก่ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในแต่ล่ะบุคคล ระบบยุติธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมประเพณี ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ทางสังคม และ ธรรมเนียมปฏิบัติ สภาพคุณความดี หรือคุณลักษณะที่แสดงออกของความดี ที่แสดงออกด้วยการปฏิบัติและเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป

คุณธรรมบุคคล คือการพิจารณา และ จำแนกระหว่างสิ่งที่ถูกและผิด ตามเจตนา แรงจูงใจ หรือการกระทำ
คุณธรรม คือ นามธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับจิตสำนึกของมนุษย์ที่ตระหนักถึงความผิดชอบชั่วดี



แหล่งที่มา






แหล่งที่มา

คุณธรรม จริยธรรม

ความหมายและความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรมคุณธรรม (Morality) และจริยธรรม (Ethics) เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542  
คุณธรรม แปลว่า สภาพคุณงามความดี 
จริยธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม 


บางครั้งก็เรียกควบกันไปเป็นคุณธรรม จริยธรรม โสเครตีส เห็นว่า คุณธรรมที่แท้จริงมีคุณค่าภายในตัวของมัน คือ ทำให้ผู้ครอบครองความดีเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เพลโต้แนะว่า คุณธรรมต้องตั้งอยู่บนความรู้ สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นคุณธรรม เช่น ความกล้าหาญ ความพอดี ความยุติธรรม และศาสนกิจ จะไม่เป็นคุณธรรม หากสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่มีความรู้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ สังคมที่คนในสังคมไม่มีคุณธรรมจริยธรรม ก็จะเป็นสังคมไร้ระเบียบ มีการเบียดเบียนละเมิดและขัดแย้งกัน
แหล่งที่มา